วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กำเนิดอาเซียน

กำเนิดอาเซียน

          สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) หรือ อาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ จากการลงนามโดยสมาชิกผู้ก่อตั้งรวม ๕ ประเทศ
         
         เมื่อปี ๒๕๑๐ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียดและขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ตลอดจนความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศ อาทิ ความขัดแย้ง ระหว่างมลายาและฟิลิปปินส์ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก รวมทั้งการที่ สิงคโปร์แยกตัวออกจากมลายา ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกัน ระหว่างประเทศในภูมิภาค ต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคจึงหันหน้า เข้าหากันและร่วมมือกันมากขึ้น จึงเกิดกระแสภูมิภาคนิยมในเอเชียเกิดขึ้น ก่อให้เกิดกลไก ความร่วมมือทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ภายในเอเชียมากมาย รวมถึงการขยายกลุ่มอาเซียนเป็นอาเซียน plus ๓ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตลอดจนอาเซียน plus ๖ เพิ่มประเทศอินเดีย ออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยทุกประเทศจะได้ รับประโยชน์ทาง เศรษฐกิจและสังคมจากการรวมกลุ่มกันในภูมิภาค

สมาชิกอาเซียน
         ในขณะนั้น ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศไทยได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาหารือร่วมกันที่ แหลมแท่น จ. ชลบุรี ซึ่งนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียนที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ นับได้ว่า ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นบ้านเกิดของอาเซียน โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งรวม ๕ ประเทศ ดังนี้
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)
ประเทศมาเลเซีย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี กลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)
สาธารณรัฐสิงคโปร์ นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)
ประเทศไทย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)
          ต่อมา ได้มีประเทศอื่นๆ เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปีต่อๆ มา ดังนี้
                    บรูไนดารุสซาลาม เป็นสมาชิกเมื่อ ๘ มกราคม ๒๕๒๗
                    สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นสมาชิกเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๙
                    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นสมาชิกเมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐
                    สหภาพพม่า เป็นสมาชิกเมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐
                    ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นสมาชิกเมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒
          ปัจจุบันสมาชิกอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนิเซีย สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐ- สังคมนิยมเวียดนาม

ปฏิญญากรุงเทพฯ
ได้ระบุวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ๗ ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
          () ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และการบริหาร
          () ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
          () เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
          () ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
          () ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริม การศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          () เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจน การปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
          () เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาค อื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
          ปฏิญญากรุงเทพ ที่ก่อตั้งอาเซียน เมื่อปี ๒๕๑๐ ได้ระบุวิสัยทัศน์และวางรากฐาน สำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียน แต่สถานการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคในขณะนั้นอยู่ ในยุคของสงครามเย็น ความคิดที่จะร่วมมือกันจึงไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง
          แต่ต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศในภูมิภาคจึงสามารถหันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือกันมากขึ้น ส่งผลให้แนวคิดที่จะมีการรวมตัวการอย่างเหนียวแน่นได้รับการฟื้นฟูขึ้นมา อีกครั้งหนึ่ง โดยอาจกล่าวได้ว่า ข้อริเริ่มของท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ใน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียน โดยเริ่มจากเสาเศรษฐกิจ

          นอกจากนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความคืบหน้า โดยริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๕ โดยตกลงที่จะลดภาษีศุลกากร ระหว่างกันให้เหลือร้อยละ ๐-๕ ในเวลา ๑๕ ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ ๑๐ ปี โดยประเทศสมาชิกเก่า ๖ ประเทศ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๖ ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ ๔ ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ดำเนินการเสร็จสิ้นในปี ๒๕๕๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น