การก่อตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN
Community)
ต่อมาผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบที่จะให้เร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็ว ขึ้นกว่าเดิมอีก ๕ ปี คือ ให้รวมตัวกันให้เสร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) เนื่องจากเห็นว่า สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันรุนแรงขึ้น เช่น อัตราการเติบโตด้าน เศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา อาเซียนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อให้ สามารถคงบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของ ประชาชนได้อย่างแท้จริง
ด้าน
|
จัดตั้ง
|
ภาษาอังกฤษ
|
การเมือง
|
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
|
ASEAN
Political-Security Community (APSC)
|
เศรษฐกิจ
|
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
|
ASEAN
Economic Community (AEC)
|
สังคม และ วัฒนธรรม
|
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
|
ASEAN
Socio-Cultural Community (ASCC)
|
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค
ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม
วัฒนธรรม เทคโนโลยี ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า
อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน (Identity
and Symbols)
ตามกฎบัตรอาเซียน (หมวด ๑๑ ข้อ ๓๕-๔๐) กำหนดให้อาเซียน
มีหน้าที่ในการส่งเสริม
๑) อัตลักษณ ์ ซึ่งหมายถึงการสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของอาเซียนในหมู่ประชาชน
๒) สัญลักษณ์ ได้แก่
๒.๑ คาขวัญของอาเซียน
"One
Vision, One Identity, One Community" :
"
หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม "
๒.๒ ธงประจาสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
Flag of the Association of South East
Asian Nations (ASEAN)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น